วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557

แค่ 2 เดือนแรกก็หดแล้ว! ยอดขายรถเดือนกุมภาพันธ์หดตัว 44.8% ยอดขายสะสมหด 45.2%

   หากพูดถึงตลาดยานยนต์ในปี 2014 ดูเหมือนจะคึกคักเป็นว่าเล่นเพราะ ค่ายรถขยันเข็นรถใหม่ลงสู่ตลาดมากมายหลายรุ่นแต่พอมานั่งดูยอดขายเดือนต่อเดือนแล้วละก็ สวนทางกับรถใหม่ที่เปิดตัวหลายรุ่นเลย เพราะ ยอดขายลดตัวอย่างมาก ส่วนหนึ่งก็น่าจะมาจากผลกระทบทางการเมืองที่ทำให้คนซื้อเริ่มเบื่อ และไม่สะดวกกับการจับจองซื้อขายรถ และก็น่าจะมาจากกำลังซื้อที่หมดไปกับรถคันแรกอยู่บ้าง
    โดยยอดขายรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีปริมาณการขาย 71,680 คัน หากเทียบกับปีที่แล้วก็ลดลงถึง 44.8%  ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะการปรับเข้าสู่ภาวะปกติหลังจากไม่มีโครงการรถคันแรกของรัฐบาลมาหนุนยอดขาย ประกอบกับการชะลอตัวของภาคการบริโภคและการลงทุนอีกด้วย ส่วนยอดขาย 2 เดือนแรกรวมกัน ทำยอดขายได้ 140,188 คัน เทียบกับปีที่แล้วก็ลดลงไปตั้ง 45.2% โดยตลาดรถยนต์นั่งหดลงสุดๆถึง 55.0% ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และโครงการรถคันแรกที่สิ้นสุดไปแล้ว โดยคาดการณ์กันว่าเดือนมีนาคมจะเป็นเดือนที่มียอดขายเติบโตขึ้นกว่าเดิมในช่วงไตรมาสแรก เพราะเป็นผลมาจากส่งมอบรถใหม่ที่เปิดตัวไปแล้วตั้งแต่ต้นปี บวกกับยอดจองที่ได้จากงานบางกอก มอเตอร์โชว์ แต่ยังไงก็ตามการเมืองก็ยังเป็นผลกระทบต่อจิตใจของผู้บริโภคครับ
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกุมภาพันธ์ 2557
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 71,680 คัน ลดลง 44.8%
อันดับที่ 1 Toyota 27,323 คัน ลดลง 26.2% ส่วนแบ่งตลาด 38.1%
อันดับที่ 2 Isuzu 13,416 คัน ลดลง 35.6% ส่วนแบ่งตลาด 18.7%
อันดับที่ 3 Honda 7,469 คัน ลดลง 70.2% ส่วนแบ่งตลาด 10.4%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 29,066 คัน ลดลง 54.2%
อันดับที่ 1 Toyota 13,274 คัน ลดลง 15.0% ส่วนแบ่งตลาด 45.7%
อันดับที่ 2 Honda 6,220 คัน ลดลง 70.8% ส่วนแบ่งตลาด 21.4%
อันดับที่ 3 Nissan 2,338 คัน ลดลง 73.8% ส่วนแบ่งตลาด 8.0%

3. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 35,142 คัน ลดลง 35.6%
อันดับที่ 1 Toyota 13,437 คัน ลดลง 32.0% ส่วนแบ่งตลาด 38.2%
อันดับที่ 2 Isuzu 12,502 คัน ลดลง 32.8% ส่วนแบ่งตลาด 35.6%
อันดับที่ 3 Mitsubishi 3,405 คัน ลดลง 45.9% ส่วนแบ่งตลาด 9.7%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 4,467 คัน
โตโยต้า 1,712 คัน – อีซูซุ 2,055 คัน – มิตซูบิชิ 505 คัน – เชฟโรเลต 175 คัน – ฟอร์ด 20 คัน

4. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 30,675 คัน ลดลง 37.5%
อันดับที่ 1 Toyota 11,725 คัน ลดลง 31.2% ส่วนแบ่งตลาด 38.2%
อันดับที่ 2 Isuzu 10,447 คัน ลดลง 42.7% ส่วนแบ่งตลาด 34.1%
อันดับที่ 3 Mitsubishi 2,900 คัน ลดลง 37.6% ส่วนแบ่งตลาด 9.5%

5. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 42,614 คัน ลดลง 35.9%
อันดับที่ 1 Toyota 14,049 คัน ลดลง 34.4% ส่วนแบ่งตลาด 33.0%
อันดับที่ 2 Isuzu 13,416 คัน ลดลง 35.6% ส่วนแบ่งตลาด 31.5%
อันดับที่ 3 Mitsubishi 3,405 คัน ลดลง 45.9% ส่วนแบ่งตลาด 8.0%  

   เห็นแค่นี้ก็น่าจะพอรู้แล้วครับว่ายอดขายลดลงมากแค่ไหน หากไม่มีปัญหาการเมือง ยอดขายอาจดีกว่านี้ก็ได้ แล้วอีกอย่างปีนี้จะต้องลดจากปีก่อนๆแน่ครับ โดยจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติหลังจากที่ไม่มีโครงการรถคันแรกที่ทำให้ยอดขายรถเติบโตผิดปกติ และตอนนี่หลายค่ายคงพยายามกระตุ้นยอดขายให้กลับมา รวมทั้งการระบายสต็อกให้หมด โดยพยายามอัดโปรกันกระหน่ำเลย แต่ยังไงก็ตามหากยอดขายรถเติบโตสูงมากๆ ฝ่ายที่ดีใจก็ไม่พ้นค่ายรถ ให้โบนัสพนักงานสบายๆ แต่ฝ่ายที่วิตกก็น่าจะเป็นพวกเราที่นับวันถนนจะน้อยลงสวนทางกับรถที่มากขึ้นทุกวันคร้าบ....
  แนะนำ ติชม แสดงความคิดเห็น และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแฟนเพจ Cars New Update ที่นี่!!

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวรถได้
ห้ามแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการพนัน หรือสิ่งผิดกฎหมาย

Like Box